วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รักษาโรคหัวใจก่อนที่จะเกิดอาการรุนแรง



นับว่าโรคหัวใจ เป็นโรคอันตรายที่คร่าชีวิตคนมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก หลายคนคิดว่าโรคนี้เป็นภัยเงียบที่แทบจะไม่มีสัญญาณใด ๆ เตือนล่วงหน้า นั่นไม่จริงเลย ทั้งๆ ที่จริงแล้วสัญญาณเหล่านั้นเราสามารถสังเกตได้ง่ายมากเลยเชียวล่ะ อย่างเช่นอาการเจ็บหน้าอก ไม่ต้องถึงกับเจ็บมากจนทนไม่ไหวก็อาจจะเป็นสัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือดได้เหมือนกัน บางคนรู้ตัวก็รักษาโรคหัวใจอย่างเคร่งครัด แต่บางคนรู้ตัวแต่ไม่ยอมรักษาโรคหัวใจ ซึ่งนั่นทำให้ชีวิตสั้นลง อย่างน้อยแม้เราจะอาจไม่สามารถป้องกันตัวเองจากโรคนี้ได้ 100 % แต่ก็จะสามารถสังเกตอาการเพื่อให้การรักษาโรคหัวใจทำได้ทันท่วงที ดีกว่าปล่อยให้สายเกินแก้

โดยในปัจจุบัน ประชาชนจำนวนมากรวมทั้งแพทย์และพยาบาลจำนวนมากกลัว โรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหัวใจที่อาจทำให้เสียชีวิตเฉียบพลัน (heart attack) ทำให้เวลามีอาการ เจ็บอก มักจะคิดว่าเป็นอาการ เจ็บหัวใจจากการขาดเลือด (ischemic cardiac pain หรือ ANGINA) จึงมักไปหาแพทย์โรคหัวใจ และแพทย์โรคหัวใจบางท่านมักจะนำผู้ป่วยไปตรวจพิเศษต่าง ๆ นานา แม้กระทั่งการลงเอยด้วยการสวนหัวใจซึ่งการตรวจพิเศษบางอย่าง เช่น การ วิ่งสายพาน (TREADMILL EXERCISE) การสวนหัวใจเป็นต้น มีอันตรายถึงชีวิตได้ โดยไม่ได้ซักถามอาการอย่างละเอียดหรือดูประวัติคนไข้มาก่อน  ซึ่งโรคหัวใจเป็นอะไรที่ละเอียดอ่อนมากจะต้องวิจนิฉัยอย่างรอบคอบมากที่สุด เพื่อการรักษาที่ถูกต้องไม่เช่นนั้นตัวคนไข้จะเป็นอันตรายได้

โดยอาการเจ็บอก อาจจะใช่หรือไม่ใช่ อาการเจ็บหัวใจจากการขาดเลือดก็ได้ บางทีอาจจะแค่เป็นหืบหอบทั้งนี้จะต้องตรวจให้ละเอียดว่าเป็นโรคชนิดใดกันแน่ โดยทั่วไปคนที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือดเพราะหลอดเลือดหัวใจตีบมักมีอาการ เจ็บหัวใจนำมาก่อนเสมอ


อาการเจ็บหัวใจนี้  ซึ่งเป็นอาการที่จะวินิจฉัยได้จากประวัติของการเจ็บเป็นสำคัญ เพราะการตรวจร่างกายและการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วนใหญ่จะเป็นปกติ การตรวจเลือดดูสารเคมีจากหัวใจ (CARDIAC ENZYMES) ทั้งหมดจะปกติ ดังนั้นแพทย์และประชาชนทั่วไปจึงควรรู้จักอาการเจ็บหัวใจว่าเป็นอย่างไร จะได้ทำการรักษาโรคหัวใจได้อย่างถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น