ปัจจุบันนั้นโรคหัวใจเป็นอะไรที่ใกล้ตัวมากๆ
เลย ดังนั้นจึงต้องระวังป้องกันตัวเองเอาไว้ก่อนด้วยการรู้จักโรคหัวใจอย่างละเอียด
เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ
เพราะว่าหัวใจของเรานั้นเป็นอวัยวะสำคัญมีกล้ามเนื้อเป็นส่วนประกอบ โดยหัวใจจะอยู่ใต้กระดูกของหน้าอกอยู่บริเวณกลางๆ
หน้าอกหน่อยค่อนไปทางซ้าย
หัวใจของคนเรามีหน้าที่สูบฉีดโลหิตเพื่อนำพาออกซิเจนและธาตุอาหารไปยังทุกส่วนของร่างกาย
หัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง มี 2 ห้องบน และ 2 ห้องล่าง
หัวใจซีกขวารับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย แล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน
โลหิตที่มีออกซิเจนก็จะกลับไปยังหัวใจด้านซ้าย
และก็จะถูกสูบฉีดโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปยังทุกส่วนของร่างกาย
ลิ้นปิดเปิดในหัวใจของคนมีสี่ลิ้น
มีตำแหน่งอยู่ระหว่างหัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่าง และที่เส้นเลือดหลักในหัวใจ
ลิ้นหัวใจทำหน้าที่กั้นเพื่อให้การสูบฉีดโลหิตไหลไปในทิศทางเดียวในขณะที่ร่างกายหลับพักผ่อน
หัวใจจะมีอัตราการเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที
การเต้นหรือการบีบตัวแต่ละครั้งเกิดจากตัวกระตุ้นทางกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกกระตุ้นโดยเซลล์พิเศษที่ชื่อ
SA node กระแสไฟฟ้าที่ถูกกระตุ้นจาก SA node จะเดินทางผ่านชุดเส้นใยนำไฟฟ้าที่อยู่ทั่วทั้งห้องหัวใจ
ซึ่งเป็นสาเหตุของการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
หลอดเลือดหัวใจ
เป็นอวัยวะอีกชิ้นที่สำคัญเพราะหัวใจต้องการออกซิเจนเช่นเดียวกับอวัยวะอื่นในร่างกาย
เพื่อที่จะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลอดเลือดหัวใจ นำโลหิตที่เต็มไปด้วยออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจแตกแขนงมาจากหลอดเลือดแดงใหญ่
(Aorta) โดยหลอดเลือดหัวใจจะพาดอยู่บริเวณพื้นผิวของหัวใจ
และจะแยกเป็นเส้นเลือดแขนงย่อยมากมายที่นำโลหิตไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
เป็นโรคที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจเลยล่ะ โดยปกติแล้ว
ผนังภายในหลอดเลือดหัวใจจะมีลักษณะเรียบ การสะสมของชั้นไขมันและตะกอนอื่นๆ
ซึ่งเรียกว่า ภาวะการสะสมไขมันภายในผนังหลอดเลือด นั้นเป็นผลเสียต่อหลอดเลือด เนื่องจากจะไปขัดขวางการไหลของโลหิต
ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น อาการเจ็บที่หัวใจอย่างรุนแรง
หรือหัวใจวาย
หากเปรียบเทียบง่ายๆ
การสะสมไขมันหรือตะกอนในหลอดเลือดก็จะเหมือนกับการสะสมของคราบสนิมในท่อน้ำเก่าๆ
มีเพียงโลหิตจำนวนน้อยท่านั้นที่จะไหลผ่านไปได้
จึงเป็นเหตุให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างความต้องการออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ
กับประสิทธิภาพของหลอดเลือดแคบๆ นี้
หัวใจขาดเลือดคืออะไรและสำคัญแค่ไหน
บอกเลยว่าสำคัญมากเมื่อหัวใจไม่ได้รับโลหิตที่มีออกซิเจนอย่างพอเพียง
ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่เรียกว่าหัวใจขาดเลือด ซึ่งมีสาเหตุจากการกระตุกในหลอดเลือดหัวใจ
อาการดังกล่าวเป็นการเตือนว่าหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้น อาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในบริเวณหน้าอก
ไหล่ หลังส่วนบน แขน คอ ในลำคอ หรือกราม เป็นต้น
และอาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่รู้สึกเครียด ขณะที่ใช้แรงมากในการทำกิจกรรม
หรือหลังมื้ออาหารหนักๆ อย่าละเลยโรคหัวใจขาดเลือด การพักผ่อนและการรักษาด้วยยาเป็นวิธีที่ช่วยลดอาการหัวใจขาดเลือดอย่างได้ผลดีทีเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น