ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจเยอะทีเดียว
ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบไม่รู้ตัว ไม่เคยไปตรวจพอเป็นแล้วก็ไม่ได้เอะใจว่าเป็นโรคหัวใจ
ยังคงใช้ชีวิตแบบหนักหน่วงทำให้เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน
กว่าจะรู้ตัวก็ไม่ทันเสียแล้ว
หัวใจเป็นอวัยวะที่เป็นกล้ามเนื้อ
ถ้าเปรียบเทียบกับเครื่องจักรที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไป มันก็คงทำงานเหมือนเครื่องปั้มน้ำ
โดยมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย
โดยในแต่ละวันที่เรามีชีวิตอยู่ หัวใจจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง
และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน หัวใจที่เปรียบดังเครื่องจักร
มันก็ย่อมทำงานผิดปกติหรือเสื่อมถอยลงไปตามกาลเวลา ดังนั้น
เพื่อเป็นการรู้เท่าทันว่าโรคหัวใจกำลังมาเยือน มาดูกันว่าโรคหัวใจ
อาการเริ่มต้นเป็นยังไง
1.เจ็บหน้าอกเป็นพักๆ
โรคหัวใจ
อาการเริ่มต้นจะเจ็บอวัยวะตั้งแต่ผิวหนังของทรวงอกไปจนผิวหนังของหลัง ทั้งนี้
อวัยวะในทรวงอก เช่น หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร
หลอดเลือดแดงใหญ่ กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง เต้านม กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก
เมื่อมีโรคหรือการอักเสบก็อาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้เช่นกัน
แต่ลักษณะอาการเจ็บหน้าอกจะแตกต่างกัน จึงต้องสังเกตดูให้ดีก่อนฟันธง อาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ
เจ็บแน่นๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้าย
หรือทั้งสองด้านส่วนใหญ่จะเจ็บด้านซ้าย บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้าย หรือทั้งสองข้าง
หรือจุกแน่นที่คอ อาการเจ็บหน้าอกจะเกิดในขณะออกกกำลัง เช่น วิ่ง เดินเร็วๆ
รีบขึ้นบันได โกรธโมโห อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง หากเป็นโรคหัวใจ
อาการเจ็บจะไม่เกิน 10 นาที สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง
อาการแน่นหน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง นอน หรือหลังอาหาร พักไม่หาย
อมยาก็ไม่หายปวด กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมาก อาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น
เหงื่อออกมาก เย็นปลายมือปลายเท้า หน้ามืดเป็นลม หายใจลำบาก
2.ใจสั่นบ่อย
ใจสั่นหมายถึงการที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
ผิดจังหวะ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นๆหยุดๆ
อาการดังกล่าวพบได้ในคนที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด
เกลือแร่ผิดปกติ ซึ่งการตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการใจสั่นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัdเนื่องจากผู้ป่วยมักมีอาการชั่วขณะ
เมื่อมาพบแพทย์อาการดังกล่าวก็หายไปแล้ว
แพทย์จึงไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ โดยแพทย์จะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ซึ่งอาจจะปกติในขณะที่ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ดังนั้น ท่านควรศึกษาวิธีจับชีพจรตัวเอง
เมื่อเกิดอาการว่าหัวใจเต้นกี่ครั้งในเวลา 1 นาที และสม่ำเสมอหรือไม่
ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้รวดเร็วถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น