วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

การรักษาโรคหัวใจอย่างถูกวิธี


ก่อนจะเป็นโรคหัวใจนั้นคนส่วนใหญ่มักพบความผิดปกติของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แม้บางคนตรวจสุขภาพทุกปีจึงได้ทราบและรู้ตัวล่วงหน้า ถือว่าเป็นความโชคดีที่ได้รับการรักษาตั้งแต่ต้น แต่ในบางรายไม่เคยตรวจหาความผิดปกติเลย จนกระทั่งเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันขึ้นทำให้เสียชีวิตกะทันหัน โดยภาวะหัวใจล้มเหลวอันเกิดจากไขมันและหินปูนเกาะสะสมตามทางเดินหลอดเลือดจนตีบหรืออุดตัน ซึ่งทั้งสองกรณีแพทย์มักจะต้องให้การรักษาทางยาก่อนเป็นอันดับแรกเสมอ หากอาการรุนแรงกว่านั้นหรือว่าไม่ดีขึ้น จึงใช้วิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนแทน แต่ถ้ายังไม่สามารถใช้วิธีการรักษาทางยาและขยายหลอดเลือดได้อีก แพทย์จึงจะพิจารณาใช้วิธีการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นวิธีสุดท้ายที่เลือกทำการรักษาโรคหัวใจ


ก่อนที่จะทำการขยายหลอดเลือดหัวใจ แพทย์มักจะอัลตราซาวนด์ และตรวจสวนหัวใจในการวินิจฉัยลักษณะและสภาวะของหลอดเลือดหัวใจอย่างละเอียดเพื่อดูการตีบแคบ ตำแหน่งการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การบีบตัวของหัวใจ การตายของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนจะทำในบริเวณที่มีการตีบตันเพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอีกครั้ง โดยแพทย์จะใส่หลอดที่มีลักษณะยาว ผอม และปลายข้างหนึ่งมีบอลลูน ซึ่งยังไม่พองตัวเข้าไปในเส้นเลือดจนถึงตำแหน่งที่เกิดการตีบหรืออุดตันจึงถูกทำให้พองตัวและขยายหลอดเลือดบริเวณที่ตีบ แล้วจึงนำบอลลูนออก ในปัจจุบันแพทย์ยังนิยมใส่ขดลวดค้ำยันหลอดเลือดซึ่งมีลักษณะเป็นตาข่ายโลหะในจุดที่ขยายหลอดเลือดเพื่อป้องกันการกลับมาตีบซ้ำ



การรักษาโรคหัวใจด้วยการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือที่เรียกกันว่า การผ่าตัดบายพาสใช้หลักการเดียวกับการตัดถนนใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรที่หนาแน่น ซึ่งก็คือหลอดเลือดที่มีปัญหาตีบตัน การผ่าตัดบายพาสจะนำหลอดเลือดดำที่ขา หลอดเลือดแดงที่ผนังหน้าอกหรือหลอดเลือดแดงที่แขนมาตัดต่อคร่อมหลอดเลือดที่ตีบหรืออุดตัน เพื่อทำทางเดินเลือดใหม่โดยไม่ต้องผ่านหลอดเลือดที่อุดตัน การทำบายพาสสามารถทำได้มากกว่าหนึ่งจุด ในเส้นเลือดเดี่ยวกัน

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รักษาโรคหัวใจก่อนที่จะเกิดอาการรุนแรง



นับว่าโรคหัวใจ เป็นโรคอันตรายที่คร่าชีวิตคนมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก หลายคนคิดว่าโรคนี้เป็นภัยเงียบที่แทบจะไม่มีสัญญาณใด ๆ เตือนล่วงหน้า นั่นไม่จริงเลย ทั้งๆ ที่จริงแล้วสัญญาณเหล่านั้นเราสามารถสังเกตได้ง่ายมากเลยเชียวล่ะ อย่างเช่นอาการเจ็บหน้าอก ไม่ต้องถึงกับเจ็บมากจนทนไม่ไหวก็อาจจะเป็นสัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือดได้เหมือนกัน บางคนรู้ตัวก็รักษาโรคหัวใจอย่างเคร่งครัด แต่บางคนรู้ตัวแต่ไม่ยอมรักษาโรคหัวใจ ซึ่งนั่นทำให้ชีวิตสั้นลง อย่างน้อยแม้เราจะอาจไม่สามารถป้องกันตัวเองจากโรคนี้ได้ 100 % แต่ก็จะสามารถสังเกตอาการเพื่อให้การรักษาโรคหัวใจทำได้ทันท่วงที ดีกว่าปล่อยให้สายเกินแก้

โดยในปัจจุบัน ประชาชนจำนวนมากรวมทั้งแพทย์และพยาบาลจำนวนมากกลัว โรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหัวใจที่อาจทำให้เสียชีวิตเฉียบพลัน (heart attack) ทำให้เวลามีอาการ เจ็บอก มักจะคิดว่าเป็นอาการ เจ็บหัวใจจากการขาดเลือด (ischemic cardiac pain หรือ ANGINA) จึงมักไปหาแพทย์โรคหัวใจ และแพทย์โรคหัวใจบางท่านมักจะนำผู้ป่วยไปตรวจพิเศษต่าง ๆ นานา แม้กระทั่งการลงเอยด้วยการสวนหัวใจซึ่งการตรวจพิเศษบางอย่าง เช่น การ วิ่งสายพาน (TREADMILL EXERCISE) การสวนหัวใจเป็นต้น มีอันตรายถึงชีวิตได้ โดยไม่ได้ซักถามอาการอย่างละเอียดหรือดูประวัติคนไข้มาก่อน  ซึ่งโรคหัวใจเป็นอะไรที่ละเอียดอ่อนมากจะต้องวิจนิฉัยอย่างรอบคอบมากที่สุด เพื่อการรักษาที่ถูกต้องไม่เช่นนั้นตัวคนไข้จะเป็นอันตรายได้

โดยอาการเจ็บอก อาจจะใช่หรือไม่ใช่ อาการเจ็บหัวใจจากการขาดเลือดก็ได้ บางทีอาจจะแค่เป็นหืบหอบทั้งนี้จะต้องตรวจให้ละเอียดว่าเป็นโรคชนิดใดกันแน่ โดยทั่วไปคนที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือดเพราะหลอดเลือดหัวใจตีบมักมีอาการ เจ็บหัวใจนำมาก่อนเสมอ


อาการเจ็บหัวใจนี้  ซึ่งเป็นอาการที่จะวินิจฉัยได้จากประวัติของการเจ็บเป็นสำคัญ เพราะการตรวจร่างกายและการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วนใหญ่จะเป็นปกติ การตรวจเลือดดูสารเคมีจากหัวใจ (CARDIAC ENZYMES) ทั้งหมดจะปกติ ดังนั้นแพทย์และประชาชนทั่วไปจึงควรรู้จักอาการเจ็บหัวใจว่าเป็นอย่างไร จะได้ทำการรักษาโรคหัวใจได้อย่างถูกต้อง

สุดยอดสมุนไพรรักษาโรคหัวใจ เห็ดหลินจิอ


หากดูจากสถิติของคนไทยที่เสียชีวิตเพราะโรคหัวใจแล้วน่าตกใจเหลือเกิน เพราะมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นทุกปีเลยทีเดียว ซึ่งเป็นสาเหตุการตายรองจากโรคมะเร็งและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ฉะนั้นสาเหตุน่าจะมาจากการใช้ชีวิตของคนที่เปลี่ยนไป มีการบริโภคของมัน ของหวานเพิ่มมากขึ้นแต่การออกกำลังกายน้อยลง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ นำพาซึ่งการเป็นโรคหัวใจในท้ายที่สุด หากว่าเป็นโรคหัวใจแล้วจะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอีกทางเลือกที่จะช่วยเสริมสำหรับคนเป็นโรคหัวใจคือการทานสมุนไพรรักษาโรคหัวใจนั่นเอง


สมุนไพรที่ได้รับความสนใจจากนักวิจัยทั่วโลก  มีผลการศึกษาที่เป็นวิทยาศาสตร์ ทั้งประเทศจีน   ญี่ปุ่น  เพื่อไขปริศนาความเชื่อของแพทย์จีนโบราณที่ใช้เห็ดหลินจือรักษาโรคหัวใจ   โดยเฉพาะในประเทศรัสเซีย  ก็ได้ทำการวิจัยพืชสมุนไพร  21  ชนิด  ภายในศูนย์วิจัยโรคหัวใจแห่งชาติที่กรุงมอสโคว์  พบว่าเห็ดหลินจือมีฤทธิ์ต่อระบบการไหลเวียนของโลหิตและหัวใจได้อย่างกว้างขวาง   และมีประสิทธิภาพดีที่สุด  ตรงกับสรรพคุณยาของจีนโบราณที่ระบุไว้ในการบำรุงและรักษาโรคหัวใจทุกประการ   เพราะฉะนั้นไม่น่าแปลกใจเลยว่าเพราะเหตุใดที่ผ่านมาหมอจีนโบราณยังคงใช้เห็ดหลินจือรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจอย่าง ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน   และเป็นเรื่องเชื่อถือได้   ส่วนในคนที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคหัวใจ   แพทย์จีนโบราณจะให้ใช้เห็ดหลินจือเพื่อบำรุงร่างกาย   และเป็นการป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคหัวใจได้โดยง่าย



โดยเห็ดหลินจือนั้นมีกรดที่เรียกว่า กาโนเดอริค ซึ่งเป็นสารสำคัญที่จะช่วยลดโรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดด้วย โดยจะทำหน้าที่ลดแรงเสียดทานนผนังของเส้นเลือด ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนได้ดี ดังนั้นจึงมีการรับประทานสมุนไพรรักษาโรคหัวใจเห็ดหลินจือกันมากในผู้ป่วยโรคหัวใจ

สมุนไพรรักษาโรคหัวใจได้มากกว่าที่คิด



โรคหัวใจเป็นโรคที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด ใครๆ ก็สามารถเป็นได้เพราะปัจจุบันการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้น การทานอาหารที่มากขึ้นหลงลืมการทานผักผลไม้และการออกกำลังกาย ทำให้ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคหัวใจกันเยอะทีเดียว ซึ่งจริงๆ แล้วการจะเป็นโรคหัวใจได้นั้น ส่วนใหญ่มีโรคอื่นๆ นำพาแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคเบาหวาน ฉะนั้นหากอยากห่างไกลโรคหัวใจต้องค่อยดูแลตัวเองอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงพวกไขมันและแป้ง หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอก็จะช่วยได้
และยังมีอีกวิธีสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจและคนที่ต้องการจะป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ นั่นคือการทานสมุนไพรรักษาโรคหัวใจ ไทยพื้นบ้านหลายๆชนิดมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงและกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และช่วยลดการเกาะตัวเป็นลิ่มเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจหรือหลอดเลือดกัวใจตีบนั้นเอง
1. กระเทียม
สมุนไพรบำรุงหัวใจอันดับหนึ่งยกให้กระเทียม กระเทียมกลีบเล็กๆ นี้ช่วยลดโอกาสการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด หากใส่กระเทียมลงไปในอาหารที่มีน้ำมัน เช่น ผัดต่างๆ จะช่วยลดการอุดตันของไขมันในหลอดเลือดลงได้ถึงร้อยละ 50
2. ขิง
เป็นสมุนไพรฤทธิ์อุ่นช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น ขิงยังช่วยลดโอกาสการก่อตัวของ fibrin โปรตีนชนิดหนึ่งที่ทำให้โลหิตแข็งตัวหรือจับตัวเป็นลิ่มเลือดซึ่งจะไปอุด หลอดเลือด
3. พริก
กินทุกวันช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง เพราะช่วยทำให้การไหลเวียนเลือดสมดุล ช่วยบรรเทาอาการใจสั่น แต่อย่าปรุงจนรสจัดเกินไป
4. ใบแปะก๊วย

แม้สมุนไพรชนิดนี้จะมีชื่อเสียงเรื่องสมอง แต่ก็มีรายงานว่าช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย จึงช่วยลดการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้

สัญญาณเงียบอันตรายบ่งบอกว่าคุณเป็นโรคหัวใจ



ในแต่ละปีโลกต้องสูญเสียประชากรจากการเป็นโรคหัวใจเยอะมากเลยทีเดียว ทั้งนี้ส่วนใหญ่ตายเพราะไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคหัวใจ และไม่ได้รับการรักษาโรคหัวใจอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน จริงๆ แล้วหากรู้ตัวว่าเป็นโรคหัวใจ สามารถรักษาและป้องกันได้ แต่หากใครไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นหรือเปล่าลองสังเกตร่างกายตัวเองดู ว่ามีสัญญาณเหล่านี้หรือไม่


โรคหัวใจนั้นเป็นโรคที่อยู่ใกล้ตัวคนเรามากกว่าที่คิด ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้วิถีการใช้ชีวิตของคนต้องแข่งกับเวลามากขึ้นจนอาจจะลืมนึกถึงเรื่องสุขภาพซึ่งเปนสิ่งที่สำคัญมากที่สุดไป กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็พบว่าตนเองเจ็บป่วยไปเสียแล้ว ยิ่งโดยเฉพาะโรคหัวใจ ที่ถือเป็นภัยเงียบที่ร้ายแรง ไม่แสดงอาการให้เห็นในเริ่มแรก และอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ บางอย่างก็ยากที่จะบอกได้ว่าเรากำลังเผชิญกับโรคหัวใจ และวันนี้กระปุกดอทคอมก็ได้นำอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่บ่งบอกถึงสัญญาณของโรคหัวใจที่เว็บไซต์ Reader's Digest บอกไว้มาฝากกัน ใครที่มักจะละเลยสุขภาพตัวเองอยู่เป็นประจำรีบหันกลับมาสังเกตตวเองกันได้แล้ว ก่อนที่จะสายเกินไป


อ่อนเพลียมาก
ดอกเตอร์ Stacey E. Rosen แพทย์หญิงผู้เชี่ยวชาญด้านระบบหลอดเลือดหัวใจในผู้หญิงจาก North Shore-LIJ Health System ได้เปิดเผยว่าอาการโรคหัวใจที่พบได้ทั่วไปมากที่สุดโดยเฉพาะในเพศหญิงที่มีอาการหัวใจวายพบว่า ผู้ที่มีอาการหัวใจวายนั้นจะรู้สึกเหนื่อยจนไม่สามารถทำกิจวตรของตัวเองได้ตามปกติ เพราะเมื่อเกิดอาการหัวใจวาย ระบบไหลเวียนของเลือดจะลดลง ทำให้เกิดภาวะตึงเครียดในกล้ามเนื้อซึ่งจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียได้ ดังนั้นหากเกิดอาการอ่อนเพลียมากผิดปกติก็ควรที่จะไปพบแพทย์เพือทำการตรวจวินิจฉัยให้แน่ใจจะดีกว่าระวังไว้ป้องกันหัวใจวาย


มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงบริเวณหลัง แขน หรือหน้าอก
อาการเจ็บปวดบริเวณหลัง หน้าอก หรือแม้แต่แขน มักจะเป็นสัญญาณเงียบของอาการหัวใจวาย เพราะเมื่อเซลล์กล้ามเนื้อเริ่มขาดออกซิเจนจะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวด ซึ่งเมื่อเกิดอาการหัวใจวาย หลอดเลือดหัวใจจะถูกปิดกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ออกซิเจนในเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ และอาการนี้จะส่งสัญญาณไปยังสมอง แต่สมองจะเกิดการสับสนจนทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงที่บรเวณอื่นไม่เพียงแต่บริเวณหน้าอกเท่านั้น ซึ่งอาการเหล่านี้คนเรามักจะคิดว่าเกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนักไม่ใช่อาการของหัวใจวาย จนทำให้กว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไป ฉะนั้นไม่ควรชะล่าใจ หากเกิดอาการเจ็บปวดบริเวณดังกล่าวควรจะรีบไปพบแพทย์เพื่อความปลอดภัย



โรคหัวใจสังเกตง่ายจากร่างกายเรา




ปัจจุบันมีผู้คนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหัวใจเยอะมาก ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตรองจากมะเร็งและอุบัติเหตุเลย ซึ่งรู้กันดีว่าหัวใจของเรานั้นมีความสำคัญมากขนาดไหน เพราะหากหัวใจหยุดเต้นลมหายใจก็จะหมดไปด้วย ดังนั้นหัวใจเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย

หัวใจของเราทุกคนนั้นมีสี่ห้องแบ่งเป็นซ้ายและขวาอย่างละสองห้อง ด้านบนจะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจ ด้านล่างจะเป็นลิ้นหัวใจซึ่งทำหน้าที่ฟอกเลือดไปยังส่วนต่างๆ หลอดเลือดที่จะสูบฉีดเลือดไปยังปอด เพื่อฟอกเลือดเสียให้ได้รับออกซิเจน หลังจากที่เลือดได้รับการฟอกแล้ว มันจะส่งกลับมายังหัวใจซีกซ้าย เพื่อสูบฉีดไปยังอวัยวะต่างๆ ต่อไป

ในทุกๆ วัน ที่เรายังมีชีวิตอยู่ หัวใจของคนเราจะเต้นประมาณหนึ่งแสนครั้งและสูบฉีดเลือดประมาณวันละสองพันแกลลอนอาการผิดปกติเบื้องต้น ของหัวใจและร่างกาย ซึ่งอาจะเป็นข้อบ่งชี้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ สามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้

1.มีอาการเหนื่อยเวลาออกกำลังกาย หรือต้องใช้แรงมากๆ คล้ายกับคนเป็นหอบ นั่นก็เป็นเพราะว่าหัวใจทำหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำงานหนักมากขึ้นกว่าปกติ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

2.เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าว จะรู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอกคล้ายๆ มีของหนักทับอยู่ โดยมากอาการนี้จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก

3.มีอาการหอบจนตัวโยนหายใจติดขัด ซึ่งหากไม่รีบพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีซึ่งอาการแบบนี้ อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้เพราะหัวใจวายเฉียบพลัน

4.ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะบ่อยครั้ง ปกติหัวใจของเราจะเต้นสม่ำเสมอประมาณ 60-100 ครั้งต่่อนาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง 150-250 ครั้งต่อนาทีไม่นับรวมการทานยาบางชนิดที่มีผลทำให้หัวใจสั่น

5.เป็นลมหมดสติอยู่บ่อยๆ อย่างไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากจังวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอจนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้

 6.หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน มักเกิดจากความผิดปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของโรคหัวใจมาก่อนล่วงหน้าเลย

7.ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ แสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจ ห้องขวากับห้องซ้าย มีการเชื่อมต่ออย่างผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมปนเปของเลือดแดงกับเลือดดำ





วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วันนี้คุณรู้จักโรคหัวใจดีหรือยัง


ปัจจุบันนั้นโรคหัวใจเป็นอะไรที่ใกล้ตัวมากๆ เลย ดังนั้นจึงต้องระวังป้องกันตัวเองเอาไว้ก่อนด้วยการรู้จักโรคหัวใจอย่างละเอียด เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ เพราะว่าหัวใจของเรานั้นเป็นอวัยวะสำคัญมีกล้ามเนื้อเป็นส่วนประกอบ โดยหัวใจจะอยู่ใต้กระดูกของหน้าอกอยู่บริเวณกลางๆ หน้าอกหน่อยค่อนไปทางซ้าย


หัวใจของคนเรามีหน้าที่สูบฉีดโลหิตเพื่อนำพาออกซิเจนและธาตุอาหารไปยังทุกส่วนของร่างกาย หัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง มี 2 ห้องบน และ 2 ห้องล่าง หัวใจซีกขวารับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย แล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน โลหิตที่มีออกซิเจนก็จะกลับไปยังหัวใจด้านซ้าย และก็จะถูกสูบฉีดโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปยังทุกส่วนของร่างกาย


ลิ้นปิดเปิดในหัวใจของคนมีสี่ลิ้น มีตำแหน่งอยู่ระหว่างหัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่าง และที่เส้นเลือดหลักในหัวใจ ลิ้นหัวใจทำหน้าที่กั้นเพื่อให้การสูบฉีดโลหิตไหลไปในทิศทางเดียวในขณะที่ร่างกายหลับพักผ่อน หัวใจจะมีอัตราการเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที การเต้นหรือการบีบตัวแต่ละครั้งเกิดจากตัวกระตุ้นทางกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกกระตุ้นโดยเซลล์พิเศษที่ชื่อ SA node กระแสไฟฟ้าที่ถูกกระตุ้นจาก SA node จะเดินทางผ่านชุดเส้นใยนำไฟฟ้าที่อยู่ทั่วทั้งห้องหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ


หลอดเลือดหัวใจ
เป็นอวัยวะอีกชิ้นที่สำคัญเพราะหัวใจต้องการออกซิเจนเช่นเดียวกับอวัยวะอื่นในร่างกาย เพื่อที่จะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลอดเลือดหัวใจ นำโลหิตที่เต็มไปด้วยออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจแตกแขนงมาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) โดยหลอดเลือดหัวใจจะพาดอยู่บริเวณพื้นผิวของหัวใจ และจะแยกเป็นเส้นเลือดแขนงย่อยมากมายที่นำโลหิตไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ


โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
เป็นโรคที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจเลยล่ะ โดยปกติแล้ว ผนังภายในหลอดเลือดหัวใจจะมีลักษณะเรียบ การสะสมของชั้นไขมันและตะกอนอื่นๆ ซึ่งเรียกว่า ภาวะการสะสมไขมันภายในผนังหลอดเลือด นั้นเป็นผลเสียต่อหลอดเลือด เนื่องจากจะไปขัดขวางการไหลของโลหิต ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง เช่น อาการเจ็บที่หัวใจอย่างรุนแรง หรือหัวใจวาย

หากเปรียบเทียบง่ายๆ การสะสมไขมันหรือตะกอนในหลอดเลือดก็จะเหมือนกับการสะสมของคราบสนิมในท่อน้ำเก่าๆ มีเพียงโลหิตจำนวนน้อยท่านั้นที่จะไหลผ่านไปได้ จึงเป็นเหตุให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างความต้องการออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ กับประสิทธิภาพของหลอดเลือดแคบๆ นี้


หัวใจขาดเลือดคืออะไรและสำคัญแค่ไหน
บอกเลยว่าสำคัญมากเมื่อหัวใจไม่ได้รับโลหิตที่มีออกซิเจนอย่างพอเพียง ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่เรียกว่าหัวใจขาดเลือด ซึ่งมีสาเหตุจากการกระตุกในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวเป็นการเตือนว่าหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้น อาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในบริเวณหน้าอก ไหล่ หลังส่วนบน แขน คอ ในลำคอ หรือกราม เป็นต้น และอาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่รู้สึกเครียด ขณะที่ใช้แรงมากในการทำกิจกรรม หรือหลังมื้ออาหารหนักๆ อย่าละเลยโรคหัวใจขาดเลือด การพักผ่อนและการรักษาด้วยยาเป็นวิธีที่ช่วยลดอาการหัวใจขาดเลือดอย่างได้ผลดีทีเดียว